top of page

กะเลิง

Kaleung, Kalerng

ไท-กะได (Tai-Kadai)

ตระกูลภาษา

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

“กะเลิง” ในภาษามอญ แปลว่า คน หรือ มนุษย์ ในขณะที่หลักฐานการบันทึกของชาวจีนได้กล่าวถึงชาวกะเลิงว่า ‘คุณ-ลุน’ (K’un-lun) หรือ ‘กูรุง’และในภาษาจามเป็น ‘กะลุง’ต่อมาชาวเขมรจึงยืมมาเรียกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเมืองเง่อาน ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาอาก จังหวัดทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยชาวกะเลิงส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร และหนองคาย โดยมีการอพยพลี้ภัยทางสงครามมาจากประเทศลาวหลายครั้ง เนื่องจากถูกกวาดต้อนเข้ามาประเทศไทยในช่วงการทำสงครามทั้งเหตุการณ์ศึกเจ้าอนุวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 และศึกจีนฮ่อ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมกับการอพยพเข้ามาของผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์รวมทั้งประชากรที่พูดภาษามอญ-เขมรอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม จากบันทึกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพระบุว่าถิ่นฐานเดิมของชาวกะเลิงคาดว่าอยู่ในเมืองกะตาก เมืองคำเกิดคำม่วน ในแขวงคำม่วนและแขวงสะหวันนาเขต ประเทศลาว ชาวกะเลิงค่อนข้างมีการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้อย่างเหนียวแน่น เช่น วัฒนธรรมการเลี้ยงผี ก่อนการทำการเกษตรกรรม ทั้งก่อนการดำนาและการเกี่ยวข้าว รวมทั้งการแต่งกายเพื่อรำถวาย (สุรัตน์ วรางค์รัตน์, 2530; 2539)

ข้อมูลทั่วไป

สาขาไท (Tai branch) สาขาย่อยไทตะวันตกเฉียงใต้ (Southwestern sub-branch)

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิภาค

สกลนคร, นครพนม, หนองคาย

จังหวัดที่พบ

70,000 คน

จำนวนประชากร

ข่าเลิง ไทกะเลิง ไทยกะเลิง ไทยกวน

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page