top of page

กะเหรี่ยงคะยา

Kaya

ไซโนทิเบตัน หรือ จีน-ทิเบต (Sino-Tibetan)

ตระกูลภาษา

ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรกะเหรี่ยงคะยาในประเทศไทย

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงคะยาเป็นอีกหนึ่งกลุ่มชาวเขา (hill tribe) ที่ต้นกำเนิดและประวัติของกลุ่มประชากรในปัจจุบันนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ถูกสันนิษฐานว่าน่าจะประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับทั้งชาวกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโปว ชาวกะเหรี่ยงคะยาในประเทศไทยปัจจุบันนั้นคาดว่าเป็นกลุ่มที่ดั้งเดิมอาศัยอยู่ในรัฐกะเหรี่ยงหรือกะยา (ชื่อรัฐในปัจจุบัน) บริเวณทางตอนบนของแม่น้ำปอนในประเทศพม่า ซึ่งชื่อของรัฐนั้นถูกตั้งตามสีของเครื่องแต่งกายชาวกะเหรี่ยงคะยา (สีแดง) อันเป็นประชากรหลักที่อยู่อาศัยภายในรัฐนั้น  ชาวกะเหรี่ยงคะยาเป็นกลุ่มกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยในช่วงท้ายๆ หลังการเข้ามาของกลุ่มกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโปว โดยเริ่มจากชาวคะยากลุ่มเล็กๆ ได้เริ่มอพยพจากประเทศพม่ามายังจังหวัดแม่ฮ่องสอนของประเทศไทย และต่อมากลุ่มอื่นๆ จึงได้ค่อยๆ ทยอยอพยพตามมาในภายหลังในช่วง ค.ศ. 1940 ถึงแม้ว่าภาษาที่ชาวกะเหรี่ยงคะยาใช้จะจัดอยู่ในกลุ่มภาษาย่อยของกะเหรี่ยงและมีลักษณะของภาษาหลายอย่างร่วมกัน แต่พบว่าภาษาของชาวคะยานั้นแตกต่างไปจากกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโปว ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจร่วมกันได้ อีกทั้งลักษณะกายภาพภายนอกของกะเหรี่ยงคะยายังแตกต่างไปจากกะเหรี่ยงกลุ่มหลักทั้งสองก่อนหน้านี้ โดยรวมกะเหรี่ยงคะยามีลักษณะความคล้ายคลึงกับกะเหรี่ยงปะโอหรือชาวมอญ-เขมรมากกว่า นักวิชาการบางส่วนจึงสัณนิษฐานว่าชาวกะเหรี่ยงคะยาอาจเป็นชาวมอญ-เขมรดั้งเดิมที่รับเอาการใช้ภาษากะเหรี่ยงเข้ามาในภายหลัง

สำหรับเครื่องแต่งกายของชาวคะยา ผู้หญิงมักสวมชุดคลุมสีดำพาดไหล่ด้านหนึ่ง มัดด้วยผ้าคาดเอวสีขาว ประดับด้วยพู่สีแดงหรือสีเขียว นอกจากนี้หญิงคะยายังสวมผ้าคลุมสีแดงแบบดั้งเดิมของเผ่า มัดเป็นปมตรงปลายผ้าด้านหน้าเหนือหน้าอก ปล่อยชายด้านหลังยาวถึงต้นขา  และยังสวมผ้าโพกศีรษะซึ่งเป็นชิ้นผ้ายาวๆ พันทบแบบง่ายๆอีกด้วย เครื่องประดับที่หญิงชาวคะยานิยมคือเครื่องเงิน ได้แก่ ต่างหูเงินขนาดใหญ่ สร้ายข้อมือและสร้อยคอที่ประกอบไปด้วยเหรียญเงินและลูกปัดสีต่างๆ ผู้ชายชาวคะยาสวมใส่เพียงเสื้อพื้นบ้านเรียบง่ายและกางเกงขนาดใหญ่ธรรมดา ชาวกะเหรี่ยงคะยามีวัฒนธรรมภายหลังการแต่งงาน คือ ฝ่ายชายของคู่สมรสต้องย้ายเข้ามาร่วมครอบครัวกับฝ่ายหญิงภายหลังการแต่งงาน (matrilocal residence) (Besaggio et al., 2007)

ข้อมูลทั่วไป

กะเหรี่ยง (Karenic branch)

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคเหนือ

ภูมิภาค

แม่ฮ่องสอน

จังหวัดที่พบ

600 คน

จำนวนประชากร

กะเหรี่ยงกะยา ยางแดง

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page