กะเหรี่ยงโปว
Pwo
ไซโนทิเบตัน หรือ จีน-ทิเบต (Sino-Tibetan)
ตระกูลภาษา
เช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอ ปัจจัยหลักๆ ที่มีอิทธิพลต่อความผันแปรของโครงสร้างพันธุกรรมภายในประชากรของกลุ่มชาวเขา ได้แก่ การอยู่อาศัยในพื้นที่ห่างไกลแยกออกจากประชากรอื่นๆ การมีประชากรขนาดเล็ก และวัฒนธรรมแบบ matrilocal residence โดยฝ่ายชายจะย้ายเข้าอยู่ร่วมกันกับครอบครัวของฝ่ายหญิงภายหลังการแต่งงาน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีความแตกต่างทางพันธุกรรมสูงระหว่างประชากรในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและกลุ่มผู้ใช้ภาษาตระกูลไซโนธิเบตันในประเทศไทย ประชากรกะเหรี่ยงโปวซึ่งจัดในอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไซโนธิเบตันนี้สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มเกษตรกรรมยุคหินใหม่ที่มีต้นกำเนิดในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือหรือตอนเหนือของจีนเมื่อประมาณ 6 ถึง 7 พันปีที่แล้ว มีแฮโปลกรุ๊ป O-M122* บนโครโมโซมวายเป็แฮโปลกรุ๊ปเด่นในกลุ่มผู้ใช้ภาษาไซโนธิเบตัน ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มภาษาย่อยในกลุ่มตระกูลภาษาไซโนธิเบตัน สามารถระบุได้จากการมีแฮโปลกรุ๊ปเด่นในแต่ละกลุ่มประชากรต่างชนิดกัน หรือการมีรูปแบบอัลลีลบนเครื่องหมาย autosomal STR (Short Tandem Repeat) ในแต่ละประชากรที่แตกต่างกัน เช่น แฮโปลกรุ๊ปโครโมโซมวาย O2a1c-002611 มีค่าความถี่สูงในประชากรกลุ่มภาษาซินิติก (ชาวจีนฮั่น) แต่มีความถี่ต่ำในประชากรกลุ่มภาษาธิเบตพม่า หรือจีโนไทป์ของ autosomal STR ที่พบในประชากรกลุ่มภาษาธิเบตและกลุ่มภาษาโลโลไม่เหมือนกัน เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหลักฐานสนับสนุนถึงความหลากหลายในกลุ่มประชากรผู้ใช้ภาษาตระกูลไซโนธิเบตัน (Kutanan et al., 2020) ในปัจจุบันพบว่าชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศไทยบางส่วนได้มีการผสมข้ามกลุ่มกับประชากรอื่นๆ ต่างกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ใช้ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปวนับเป็นอีกหนึ่งกลุ่มกะเหรี่ยงหลักๆ ที่พบในประเทศไทยรองจากกะเหรี่ยงสะกอ ต้นกำเนิดและประวัติของกลุ่มประชากรกะเหรี่ยงโปวในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดเช่นกัน แต่ถูกสันนิษฐานว่าน่าจะมีประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับชาวกะเหรี่ยงสะกอ ในทางด้านภาษาศาสตร์พบว่าภาษาของชาวกะเหรี่ยงโปวนั้นค่อนข้างคล้ายคลึงกับกะเหรี่ยงสะกอเป็นอย่างมาก ส่วนที่แตกต่างกันนั้น ได้แก่ การเปล่งเสียงขึ้นจมูกที่พบในกะเหรี่ยงโปว แต่ถูกลดทอนจนหายไปในกะเหรี่ยงสะกอ ซึ่งความแตกต่างนี้ทำให้กลุ่มภาษากะเหรี่ยงทั้งสองกลุ่มไม่สามารถสื่อสารเข้าใจกันและกันได้ การกระจายตัวของกลุ่มกะเหรี่ยงโปวในประเทศไทยค่อนข้างเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ เช่น ภาคเหนือในจังหวัดเชียงราย จนถึงภาคกลางและภาคตะวันตกตอนใต้ในจังหวัดสุพรรณบุรีและประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น กะเหรี่ยงโปวจึงเป็นกลุ่มชาวเขา (hill tribe) ที่พบอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางใต้ที่สุดในประเทศไทย
การแต่งการของผู้คนในเผ่ากะเหรี่ยงโปวนั้น ฝ่ายหญิงจะมีรูปแบบการแต่งกายที่สามารถบ่งบอกถึงสถานะการสมรสได้เช่นเดียวกับเผ่ากะเหรี่ยงสะกอ โดยผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานมักสวมชุดคลุมสีขาวที่มียาวจนถึงข้อเท้า ตัวชุดคลุมจะถูกประดับตกแต่งด้วยพู่และการเย็บปักเป็นให้ลวดลายต่างๆ มีผ้าคลุมศีรษะลายขวาง สวมต่างหูและสร้อยคอเงินร่วมกับสายร้อยลูกปัดผูกประดับช่วงเอว นอกจากนี้ยังสวมกำไลเงินจำนวนมากบนข้อมือและแขน ซึ่งในบางครั้งหญิงสาวจะเพิ่มจำนวนกำไลที่สวมใส่มากขึ้นจนกระทั่งเต็มแขนในโอกาสและพิธีการสำคัญต่างๆ สำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว บ้างมักสวมชุดคลุมยาวถึงหน้าแข้ง อาจมีสีขาวหรือสีแดง ชุดมีลวดลายเป็นลายทางยาวแนวตั้งตรงประดับด้วยลูกปัดสี บางคนนิยมสวมเสื้อคลุมสั้นสีแดงหรือขาวที่มีรูปแบบการตกแต่งคล้ายชุดคลุมแบบยาว สวมคู่กับโสร่งสีแดงที่ปักเย็บตกแต่งเป็นลายทางขวาง ส่วนผู้ชายชาวกะเหรี่ยงโปวนั้นมีรูปแบบการแต่งกายที่คล้ายกันกับผู้หญิงที่แต่งงานแล้วภายในเผ่าเดียวกัน เพียงแต่ชุดมีการเย็บปักตกแต่งน้อยกว่าและสวมใส่ผ้าคลุมศีรษะเป็นครั้งคราว ผู้ชายยังนิยมถือกระเป๋าสะพายไหล่หลากหลายสี มักถักประดับตกแต่งเป็นแถบสีขาว แดง และเหลือง แต่ไม่นิยมเย็บกระดุมเงินตกแต่งกระเป๋าดังเช่นเผ่าคะฉิ่น
ข้อมูลทั่วไป
กะเหรี่ยง (Karenic branch)
กลุ่มภาษาย่อย
ภาคเหนือ, ภาคตะวันตก
ภูมิภาค
อุทัยธานี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันท์, กำแพงเพชร, ตาก, เชียงราย, เชียงใหม่, แพร่, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, ลำพูน, สุโขทัย
จังหวัดที่พบ
50,000 – 100,000 คน
จำนวนประชากร
กะเหรี่ยงโปว่ พล่ง โพล่ง โผล่ว
ชื่อเรียกอื่นๆ