กูย หรือ กวย
Kuy
ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)
ตระกูลภาษา
จากการรายงานข้อมูลดีเอ็นเอบนออโทโซม พบว่าชาวกูยมีลักษณะเฉพาะของโครงสร้างทางพันธุกรรม รวมทั้งไม่มีการผสมผสานทางพันธุกรรมกับชาวเขมรและชาวไทยอีสานที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจเนื่องมาจากการนิยมแต่งงานภายในกลุ่ม และมีวัฒนธรรมการย้ายถิ่นฐานหลังการแต่งงาน โดยฝ่ายชายย้ายเข้าบ้านฝ่ายหญิง (matrilocality) (Chantakot et al. , 2017) ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความหลายหลายทางพันธุกรรมของประชากรตามสมมุติฐานของ Oota et al. (2001)
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ
ชาวกูยหรือส่วยในประเทศไทย อพยพมาจากเมืองอัตตะบือ แขวงจำปาศักดิ์ และแขวงสาละวัน ของประเทศลาว ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2199 - 2231) จากการภัยทางการเมืองที่ถูกกดขี่ข่มเหงจากกษัตริย์เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และมีบางส่วนที่จังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา และมหาสารคาม สำหรับชื่อกูย คือ ชื่อที่เรียกกันเองในกลุ่มชาติพันธุ์ แต่คนไทยนิยมเรียก ชาวส่วย เนื่องจากในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพิจารณาเห็นว่าชาวกูยต้องส่งส่วยแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเป็นของป่า เช่น ครั่ง ไม้เนื้อหอม ขี้ผึ้ง เข้าไปที่กรุงเทพฯ ทุกปี จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อตามที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเขมรป่าดงว่า “เขมรส่วย” แต่ในภายหลังมีการส่งคนกูยเข้ามาแทนสิ่งของที่ขาดแคลน จึงทำให้คนไทยในราชอาณาจักรเรียกว่า “คนส่วย” ซึ่งเป็นชื่อที่เหยียดหยามทางวัฒนธรรม และเป็นชื่อที่ชาวกูยไม่ยอมรับ (สุริยา รัตนกุล, 2531) ชาวกูยมีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์เกี่ยวข้องกับการเดินป่า การล่าช้าง และฝึกช้าง แต่สำหรับปัจจุบัน ชาวกูยมีวิถีชีวิตที่ใกล้เคียงกับชาวเขมรและลาวที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน จากการปฏิสัมพันธ์ ผสมผสาน กลมกลืน และยอมรับวัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากขึ้น
ข้อมูลทั่วไป
สาขามอญ-เขมร (Mon-Khmer) สาขาย่อยกะตู (Katuic)
กลุ่มภาษาย่อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออก
ภูมิภาค
บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, ร้อยเอ็ด
จังหวัดที่พบ
400,000 คน
จำนวนประชากร
ส่วย ไทย-เขมร ข่า ส่วยลาว เขมรป่าดง ไทยกวย
ชื่อเรียกอื่นๆ