top of page

ก๋อง หรือ อุก๋อง

Guong/Ugong

ไซโนทิเบตัน หรือ จีน-ทิเบต (Sino-Tibetan)

ตระกูลภาษา

ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรก๋องในประเทศไทย

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

กลุ่มชาติพันธุ์ก๋องในประเทศไทยปัจจุบันนั้นเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากประเทศพม่าและเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทยเป็นเวลายาวนานไม่ต่ำกว่า 100 ปีมาแล้ว โดยมีการขยายขนาดประชากรไปทั้งทางตะวันตกสู่ประเทศพม่า และทางตะวันออกเข้ามายังที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย ชาวก๋องส่วนใหญ่มีการกระจายตัวอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย โดยอาศัยอยู่ร่วมกับประชากรไทยอื่นๆ ในจังหวัดอุทัยธานีและสุพรรณบุรี และยังพบการผสมระหว่างประชากรต่างกลุ่มชาติพันธุ์อีกด้วย จึงทำให้ในปัจจุบันคงเหลือชาวก๋องเชื้อสายดั้งเดิมจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ตามกลุ่มชาวก๋องส่วนมากยังคงมีการใช้ภาษาท้องถิ่นก๋องของตนอยู่อย่างแพร่หลาย สำหรับการแต่งกายดั้งเดิมของชาวก๋องนั้น ผู้หญิงจะใส่กระโปรงทรงกระสอบกว้างสีน้ำเงินยาวคลุมเข่าและเสื้อคลุม ไม่สวมใส่เครื่องประดับอื่นๆ ผู้ชายมักใส่กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน บ้างใส่เสื้อธรรมดาหรือไม่สวมใส่เครื่องนุ่มหุ่มส่วนบน โดยเครื่องแต่งกายดั้งเดิมนี้ปัจจุบันชาวก๋องยังคงคงไว้เพียงในโอกาสสำคัญเท่านั้น หรือพบได้ในสมาชิกอาวุโสภายในกลุ่มประชากร ปัจจุบันชาวก๋องหันมาสวมใส่เครื่องแต่งกายแบบชาวเกษตรกรไทยทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป

โลโลใต้ (Southern loloish branch)

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคกลาง, ภาคตะวันตก

ภูมิภาค

อุทัยธานี, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี

จังหวัดที่พบ

100-600 คน

จำนวนประชากร

ละว้า ลัวะ ก๊อง กว๊อง

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page