top of page

ขมุ

Khmu

ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)

ตระกูลภาษา

จากการจัดกลุ่มทางภาษาศาสตร์ของชาวขมุในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยขมุ ร่วมกับชาวถิ่นและมลาบรีนั้น สอดคล้องกับการศึกษาดีเอ็นเอบนไมโทคอนเดรียบริเวณ HVR1 ของ Kampuansai et al. (2012) ที่พบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่ใกล้ชิดกันของประชากรขมุ และถิ่น เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ไมโครแซเทลไลท์บนออโทโซม (Kampuansai et al., 2017) และการวิเคราะห์ดีเอ็นเอบนโครโมโซมวาย (Kutanan et al., 2018) ที่เปิดเผยการจัดกลุ่มทางพันธุกรรมในกลุ่มของชาวขมุและชาวถิ่น ดังนั้น ทำให้สามารถยืนยันถึงการมีบรรพบุรุษร่วมกันมาก่อน อีกทั้งยังพบความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ค่อนข้างต่ำในประชากรขมุ สืบเนื่องมาจากการตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยในภูเขาที่ห่างไกล จนขาดการติดต่อจากประชากรกลุ่มอื่น และไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางพันธุกรรม (Kampuansai et al., 2017) รวมทั้งข้อมูลจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอบนไมโทคอนเดรียตลอดทั้งจีโนม พบว่าชาวขมุมีแฮโปลกรุ๊ป B5a1dที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์ แสดงถึงความแตกต่างทางพันธุกรรมจากประชากรกลุ่มอื่น (Kutanan et al., 2017) ในขณะที่ การวิเคราะห์ข้อมูล Genome-Wide data ระบุการจัดกลุ่มทางพันธุกรรมของประชากรในกลุ่มที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยขมุและสาขาย่อยกะตู ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานเดิมในบริเวณประเทศลาว ดังนั้น อาจเกิดการไหลของยีนระหว่างกลุ่มประชากรก่อนที่จะอพยพย้ายเข้าสู่ประเทศไทยในภายหลัง (Kutanan et al., 2021) นอกจากนี้ ชาวขมุมีวัฒนธรรมการย้ายถิ่นฐานภายหลังจากการแต่งงานแบบที่ฝ่ายหญิงย้ายเข้าบ้านฝ่ายชาย หรือเรียกว่า patrilocality โดยจากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลถึงลักษณะทางพันธุกรรมของชาวเขาด้วยเครื่องหมายทางพันธุกรรมบนดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียและบนโครโมโซมวาย พบว่าชาวขมุค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ค่อนข้างต่ำของดีเอ็นเอบนโครโมโซมวาย เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายของดีเอ็นเอเพศหญิงระหว่างครอบครัวมากกว่าดีเอ็นเอของเพศชาย (Kutanan et al., 2019)

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

“ขมุ”เป็นคำที่เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองในประเทศลาว ซึ่งแปลว่า “คน” นอกจากนี้ ชาวขมุ ถูกเรียกว่า ลาวเทิง แสดงถึงกลุ่มคนลาวที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง โดยชาวขมุถือว่าเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในบริเวณแขวงหลวงพระบางทางตอนเหนือของประเทศลาว แต่เมื่อชาวลาวอพยพลงมาถึงดินแดนล้านช้าง ชาวขมุจึงถูกขับไล่เข้าไปอยู่ในป่า หรือถูกจับเป็นทาส และบางส่วนหนีไปตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มตลอดแม่น้ำโขงไทย-ลาว รวมไปถึงประเทศเวียดนาม และเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ประเทศจีน สำหรับการอพยพเข้ามาในประเทศไทย เกิดขึ้นในช่วงที่มีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง พ.ศ. 2398 (ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5) เพื่อมาเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมป่าไม้ของอังกฤษ (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, 2555; บุญช่วย ศรีสวัสดิ์, 2545) แม้ว่าในปัจจุบันชาวขมุมีการออกมาประกอบอาชีพร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ มากขึ้น แต่ยังคงมีบางส่วนที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นพลเมืองไทยด้วยการมีบัตรประจำตัวประชาชน จนทำให้เป็นปัญหาในการหาเลี้ยงชีพ

ข้อมูลทั่วไป

สาขาคาซี-ปากานิก (Khasi-Pakanic ) สาขาย่อยขมุ (Khmuic

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคเหนือ, ภาคตะวันตก

ภูมิภาค

เชียงราย, น่าน, ลำปาง, กาญจนบุรี, อุทัยธานี

จังหวัดที่พบ

12,000 คน

จำนวนประชากร

กำมุ ตะมอย ข่ามุ

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page