ชอง
Chong
ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)
ตระกูลภาษา
ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรชองในประเทศไทย
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ
คำว่า “ชอง” หมายถึง “คน” ซึ่งในพจนานุกรมภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2525 ระบุว่า ชอง หมายถึง ชื่อของกลุ่มชนหนึ่งที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี ในขณะที่ชาวกัมพูชาเรียกชาวชองว่า “ปัว”และชาวชองเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองว่า “ตัมเร็จ” หรือ “สำแร” โดยชาวชองเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันชาวชองในประเทศไทยพบมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี รวมถึงตราด ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นจังหวัดติดพรมแดนประเทศกัมพูชาจากเอกสารบันทึกของนักการทูตจากจีนที่เดินทางเข้ามาที่ราชสำนักกัมพูชาช่วงปี พ.ศ.1839 ได้ระบุว่า ชอง เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ตามป่าเขาและถูกชาวเขมรในกัมพูชาจับมาเป็นทาสรับใช้ในบ้านเรือน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน และมีเพียงตำนานคำบอกเล่าชาวชองระบุว่าบรรพบุรุษมีการอาศัยอยู่ในบริเวณดินแดนแถบจังหวัดจันทบุรีมาอย่างยาวนานแล้ว ไม่ได้อพยพเข้ามาจากประเทศกัมพูชา (สุริยา รัตนกุล, 2531) นอกจากนี้ ชาวชองมีเรื่องเล่าว่าเคยมีอาณาจักรเป็นของตนเองแถบบริเวณจังหวัดจันทบุรีในปัจจุบันช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 ถึง 18 หลังจากนั้น ในช่วงพระเจ้าตากสินปกครองกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเกณฑ์ไพร่พลในจังหวัดจันทบุรีไปเป็นกองกำลังต่อสู้กับพม่า แต่ชาวชองไม่ต้องการเข้าร่วมการรบในครั้งนั้น จึงหลบหนีไปอยู่ที่บริเวณเขาคิชฌกูฏ อำเภอมะขาม และจังหวัดตราด ตามชายแดนประเทศไทยและกัมพูชา (Schliesinger, 2000)
ข้อมูลทั่วไป
สาขามอญ-เขมร (Mon-Khmer) สาขาย่อยเพียร์ (Pearic)
กลุ่มภาษาย่อย
ภาคตะวันออก
ภูมิภาค
จันทบุรี
จังหวัดที่พบ
4,000 คน
จำนวนประชากร
ตัมเร็จ สำแร ปัว ซองชีขะโมย มโนะห์ มนิก ขำของ
ชื่อเรียกอื่นๆ