top of page

ญัฮกุร หรือ เนียกวล

Nyahkur

ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)

ตระกูลภาษา

แม้ว่าการจัดกลุ่มทางภาษาศาสตร์ได้ระบุว่าภาษาของชาวญัฮกุรอยู่ในสาขาเดียวกันกับภาษาของชาวมอญ คือ สาขาย่อยมอญแต่หลักฐานทางพันธุกรรมที่มีการศึกษาผ่านมานั้น ได้ระบุว่าประชากรสองกลุ่มนี้มีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน โดยการศึกษาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซเทลไลท์บนออโทโซมได้ระบุโครงสร้างทางพันธุกรรมของชาวญัฮกุรที่แตกต่างจากชาวมอญ บ่งบอกถึงการมีบรรพบุรุษที่ต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจากการแยกตัวไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณภูเขาที่ห่างไกล (isolation) จนทำให้ไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น (Srithawong et al., 2020) นอกจากนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียระบุว่าชาวญัฮกุรมีความถี่ของแฮโปลกรุ๊ปที่เฉพาะ ได้แก่ F1a1a และ R9b2 จึงส่งผลให้มีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างจากประชากรอื่น (Kutanan et al., 2017) เช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชื้อสายทางพันธุกรรมทั้งฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่ที่ไม่พบการแบ่งปันแฮโปลไทป์ระหว่างประชากรญัฮกุรและมอญในประเทศไทย แต่พบการแบ่งข้อมูลทางพันธุกรรมของญัฮกุรกับประชากรเขมร ที่อาจจะเกิดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเมื่อไม่นานมานี้ (Kutanan et al., 2019) สอดคล้องกับการวิเคราะห์เครื่องหมายดีเอ็นเอบนไมโทคอนเดรียบริเวณ HVR1พบการแบ่งปันข้อมูลทางพันธุกรรมของชาวญัฮกุรกับชาวไทยอีสานจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาจเกิดจากการไหลของยีน (gene flow) ของประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน หรืออาจเกิดจากการได้รับข้อมูลทางพันธุกรรมบางส่วนจากประชากรที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติกกลุ่มอื่น ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันกับญัฮกุร เช่น กูย หรือ บรู (Kutanan et al., 2014)

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

ชาวญัฮกุรตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา คนไทยเรียกญัฮกุรว่า ชาวบน คนดง ชาวดง หรือละว้า อาจเนื่องมาจากญัฮกุรมีแหล่งอาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูง หรือเป็นการแปลชื่อของชาวญัฮกุร ที่เรียกตนเอง จากคำว่า nah แปลว่า มนุษย์ และ kur แปลว่า ภูเขา (สุริยา รัตนกุล, 2531) จากหลักฐานทางภาษาศาสตร์ระบุว่าภาษาของญัฮกุรเป็นหนึ่งในภาษามอญโบราณ (Old Mon) ที่พูดกันในสมัยทวารวาดี และแตกต่างจากภาษามอญใหม่ (Modern Mon) ที่ใช้ในปัจจุบัน (อภิญญา บัวสรวง และ สุวิไล เปรมศรีรัตน์, 2541) นอกจากนี้ ข้อมูลทางภาษาศาสตร์ระบุว่าชาวญัฮกุรสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นชาวมอญโบราณที่เป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรหริภุญชัยหรืออาณาจักรของชาวมอญตั้งแต่ช่วงนพุทธศตวรรษที่ 8 โดยหลังจากการอพยพเข้ามายึดครองพื้นที่ของชาวไทในช่วงศตวรรษที่ 10ชาวมอญโบราณในอาณาจักรหริภุญชัยบางส่วนได้มีการเคลื่อนย้ายหนีเข้าไปอยู่ในป่าตามภูเขาภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการมีวิถีชีวิตแบบเก็บของป่าล่าสัตว์ จึงทำให้มีชื่อที่เรียกเกี่ยวข้องกับป่าและภูเขา (Schliesinger, 2000) อย่างไรก็ตาม ชาวญัฮกุรในปัจจุบันอาศัยอยู่ร่วมกันกับชาวไทยและลาวอีสานมากขึ้น มีการรื้อฟื้น ส่งเสริม และอนุรักษ์วัฒนธรรมภาษาของญัฮกุรอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นการสร้างธุรกิจเชิงท่องเที่ยว

ข้อมูลทั่วไป

สาขามอญ-เขมร (Mon-Khmer) สาขาย่อยมอญ (Monic)

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ

ภูมิภาค

นครราชสีมา, เพชรบูรณ์, ชัยภูมิ

จังหวัดที่พบ

6,000 คน

จำนวนประชากร

ชาวบน คนดง ชาวดง ละว้า

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page