บรู
Bru
ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)
ตระกูลภาษา
การศึกษาชาวบรูด้วยเครื่องหมายทางพันธุกรรมชนิดไมโครแซเทลไลท์บนออโทโซม พบว่ามีลักษณะทางพันธุกรรมที่ค่อนข้างแตกต่างจากประชากรกลุ่มอื่น ด้วยระยะห่างทางพันธุกรรมที่สูง และมีองค์ประกอบโครงสร้างทางพันธุกรรมที่โดดเด่น (Srithawong et al., 2020) ในขณะที่การวิเคราะห์ Genome-Wide data แสดงการจัดกลุ่มทางพันธุกรรมที่ใกล้ชิดกันของชาวบรูร่วมกับประชากรที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยกะตู (โซ่) และสาขาย่อยขมุ (ขมุ ถิ่น และมลาบรี) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีถิ่นฐานจากประเทศลาว จึงอาจเกิดการแลกเปลี่ยนทางพันธุกรรมก่อนการอพยพเข้าสู่ประเทศไทย ในช่วง 100-200 ปีที่ผ่านมานี้ (Kutanan et al., 2021) รวมทั้งอาจเกิดจากสมมุติฐาน The concept of center of gravity ของ Blench (2015) ที่เสนอไว้ว่า ภายหลังการอพยพจากจีนตอนใต้เข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของบรรพบุรุษประชากรที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติก ได้มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณแม่น้ำโขงตอนกลางหรือทางภาคเหนือของประเทศลาวในปัจจุบัน และมีการอพยพโยกย้ายตามแนวแม่น้ำโขงตลอดมา ส่งผลให้เกิดการติดต่อและแบ่งปันข้อมูลทางพันธุกรรมกันมากขึ้น
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ
ชื่อเรียกคำว่า “บรู” อ้างถึง คนหรือมนุษย์ที่รักอิสระและอาศัยอยู่บนภูเขา โดยมีการอพยพทำไร่หมุนเวียนบนที่สูงตามบริเวณป่าเขาตลอดแนวฝั่งแม่น้ำโขง บรรพบุรุษของชาวบรูคาดว่าเป็นชนพื้นเมืองในแถบจังหวัดกว่าง จิ (Qaung Tri) ประเทศเวียดนาม ตลอดจนแขวงคำม่วน แขวงสะหวันนะเขต และแขวงสาละวัน ประเทศลาว (Schliesinger, 2000) ซึ่งในช่วง 80 ปีที่ผ่านมานี้ ชาวบรูมีการอพยพมาจากประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยหลายครั้งตลอดพรมแดนแม่น้ำโขง ตั้งแต่สมัยการแย่งชิงดินแดนฝั่งซ้ายระหว่างไทย-ญวน นอกจากนี้สมัยสงครามปราบฮ่อมีการกวาดต้อนคนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคอีสาน และในช่วงที่ฝรั่งเศสเข้ายึดอำนาจแถบอินโดจีน มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในลาว ทำให้ชาวบรูได้รับผลกระทบจึงอพยพหนีข้ามมาฝั่งประเทศไทย (ชนาธิป บุณยเกตุ, 2541; พนัส ดอกบัว, 2553; สมใจ ศรีหล้า, 2550) อย่างไรก็ตาม ภายหลังรัฐไทยมีการสร้างความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ ชาวบรูในประเทศไทยจึงถูกหล่อหลอมเข้าสู่วัฒนธรรมและจิตสำนึกของความเป็นไทยในฐานะพลเมือง
ข้อมูลทั่วไป
สาขามอญ-เขมร (Mon-Khmer) สาขาย่อยกะตู (Katuic)
กลุ่มภาษาย่อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภูมิภาค
อุบลราชธานี, มุกดาหาร, หนองคาย, สกลนคร
จังหวัดที่พบ
500 คน
จำนวนประชากร
บลู ข่า ส่วย โซ่ กะโซ่ โส้ ข่าโซ่ ข่าพร้าว
ชื่อเรียกอื่นๆ