top of page

ปลัง

Blang

ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)

ตระกูลภาษา

การวิเคราะห์ความผันแปรของไมโครแซเทลไลท์บนโครโมโซมวายและดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียบริเวณ HVR1 พบโครงสร้างทางพันธุกรรมที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างสองเครื่องหมาย สำหรับข้อมูลดีเอ็นเอบนไมโทคอนเดรียได้แสดงถึงความใกล้ชิดทางพันธุกรรมที่สอดคล้องกับการจัดกลุ่มทางภาษาศาสตร์ของชาวปลังกับประชากรที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยปะหล่อง ได้แก่ ปะหล่องและละว้า ในขณะที่ข้อมูลดีเอ็นเอบนโครโมโซมวาย พบว่าชาวปลังมีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างจากประชากรปะหล่องและละว้าอย่างชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลมาจากการมีวัฒนธรรมหลังการแต่งงานแบบที่ฝ่ายหญิงย้ายเข้าบ้านฝ่ายชาย จนทำให้เกิดความแตกต่างกันของดีเอ็นเอเพศชายแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากนั้น ยังพบความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ไท บ่งชี้ถึงการผสมผสานทางพันธุกรรมระหว่างประชากร ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่อาศัยอยู่บริเวณจีนตอนใต้ก่อนการอพยพมาถึงประเทศไทย และพบการติดต่อรับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นมาใช้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะภาษาพูด โดยชาวปลังสามารถพูดได้มากกว่าหนึ่งภาษา (Kutanan et al., 2011) เช่นเดียวกันกับผลการวิเคราะห์ไมโครแซเทลไลท์บนออโทโซม ที่พบว่าชาวปลังมีลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกันกับประชากรที่พูดภาษาไท-กะได และภาษาจีน-ทิเบต (Mawan et al., 2021) รวมถึงผลจากการศึกษา Genome-Wide data พบการแบ่งปันข้อมูลทางพันธุกรรมของชาวปลังกับประชากรกลุ่มอื่นอย่างหลากหลาย และพบการจัดกลุ่มอยู่ร่วมกับประชากรที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยปะหล่อง (ปะหล่อง และละว้า) (Kutanan et al., 2021)

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

“ปลัง”เป็นชื่อที่ใช้เรียกตนเอง มีความหมายว่า หน่อต้นกล้วย หรือเรียกว่า “คาปลัง” แปลว่า ข้างบน เพราะชาวปลังอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงห่างไกลจากตัวเมือง ในประเทศไทยชาวปลังมีการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่บริเวณอำเภอแม่จัน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งถิ่นฐานเดิมอยู่พื้นที่รอยต่อระหว่างเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า และทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยเฉพาะเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาที่มีการอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นของชาวปลัง จากบันทึกโบราณของจีน เชื่อว่าชาวปลังสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนโบราณที่เรียกว่า Pu ของจีนตอนใต้ ในช่วงเวลาราว 40 ปีก่อน มีการอพยพของชาวปลังผ่านประเทศพม่าและเข้ามาในประเทศไทย ด้วยเหตุผลความแร้นแค้นของเศรษฐกิจและถูกกดขี่ด้วยชนกลุ่มอื่น เช่น ชาวไทใหญ่ ในช่วงแรกที่เข้ามาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ชาวปลังเรียกตนเองว่า ลัวะ เพื่อให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป โดยคนไทยเองก็เรียกว่าลัวะเช่นเดียวกัน จากภาษาของทั้งสองกลุ่มที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน (Schliesinger, 2000)

ข้อมูลทั่วไป

สาขาคาซี-ปากานิก (Khasi-Pakanic) สาขาย่อยปะหล่อง (Palangic)

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคเหนือ

ภูมิภาค

เชียงราย

จังหวัดที่พบ

1,200 คน

จำนวนประชากร

คาปลัง ลัวะ ไตหลอย สามเต้า ปู้หลัง

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page