top of page

ปะหล่อง

Palaung

ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)

ตระกูลภาษา

จากการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมของชาวปะหล่องและกลุ่มประชากรที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติกในภาคเหนือของประเทศไทย โดย Kampuansai et al. (2017) ด้วยการวิเคราะห์ไมโครแซเทลไลท์ ระบุว่าชาวปะหล่องมีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่แตกต่างจากประชากรอื่นอย่างชัดเจน ด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ การตั้งที่อยู่อาศัยในตำแหน่งห่างไกล และไม่มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่นเดียวกับผลการศึกษาดีเอ็นเอบนไมโทคอนเดรียบริเวณ HVR1 และดีเอ็นเอไมโครแซเทลไลท์บนโครโมโซมวาย ที่พบว่าปะหล่องมีความแตกต่างทางพันธุกรรมสูงในทั้งสองเครื่องหมายดีเอ็นเอ (Kutanan et al., 2011) รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล Genome-Wide data โดย Kutanan et al. (2021) ได้ยืนยันว่าชาวปะหล่องมีการแบ่งปันข้อมูลทางพันธุกรรมเฉพาะในกลุ่มของตนเองค่อนข้างสูง และมีความความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้ชิดกับกลุ่มที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยปะหล่อง คือ ชาวปลังและละว้า ในขณะที่ผลของไมโครแซเทลไลท์บนออโทโซม โดย Mawan et al. (2021) พบความสัมพันธ์กันระหว่างชาวปะหล่องและประชากรที่พูดภาษาจีน-ทิเบต เนื่องจากบรรพบุรุษของชาวปะหล่องเคยมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของแม่น้ำสาละวิน ประเทศพม่า ดังนั้น การผสมผสานทางพันธุกรรมกับชาวพม่าในช่วงเวลาดังกล่าว อาจส่งผลให้เกิดความใกล้ชิดทางพันธุกรรม นอกจากนี้ การศึกษาอิทธิพลของการย้ายถิ่นฐานภายหลังการแต่งงานในกลุ่มประชาการจากภาคเหนือ ซึ่งสำหรับชาวปะหล่องมีวัฒนธรรมเป็นแบบ patrilocality หรือ ฝ่ายหญิงย้ายเข้าบ้านฝ่ายชายนั้น ส่งผลให้ดีเอ็นเอบนโครโมโซมวายมีความหลากหลายภายในกลุ่มต่ำ และแตกต่างจากประชากรกลุ่มอื่นสูง เนื่องจากฝ่ายมีการเคลื่อนย้ายของดีเอ็นเอที่น้อยกว่าฝ่ายหญิง (Kutanan et al., 2019)

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

ชาวปะหล่อง อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดย “ดาราอั้ง”เป็นชื่อที่ใช้เรียกตัวเอง หมายถึง คนที่อยู่บนดอยหรือคนที่อาศัยอยู่บนหุบผาสูงชันบนภูเขาที่สูงหนาว ในขณะที่ ปะหล่อง เป็นชื่อที่เรียกโดย ชาวไทยใหญ่และพม่า หมายถึง คนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ (ไม่มีความหมายในทางดาราอั้ง) สำหรับถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณเทือกเขาทางตอนใต้ของเมืองเชียงตุง ในรัฐฉาน ประเทศพม่า มีการอพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2525 (รัชกาลที่ 9) จากเหตุการณ์ที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ กลุ่มชนต่าง ๆ จึงได้ตั้งกองกำลังต่อสู้กับรัฐบาล ทำให้ชาวปะหล่องถูกกดขี่จากทั้งรัฐบาลพม่าและชาวไทใหญ่ มีการบังคับให้ผู้ชายเป็นลูกหาบและผู้หญิงบางคนถูกข่มขืน จึงทำให้ชาวปะหล่องต้องอพยพหนีเอาตัวรอดออกนอกประเทศเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงอนุญาตให้อาศัยอยู่ในเขตอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งให้ทางการเข้ามาช่วยเหลือสร้างที่พักและให้การศึกษา (นนทวรรณ แสนไพร, 2554) จนกระทั่งในปัจจุบัน จากการประชุมเครือข่ายดาราอางแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากชุมชนดาราอางทั้งหมด 11 ชุมชน มีมติร่วมกันในปี พ.ศ.2547 ว่าจะใช้คำเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองว่า “ดาราอาง”

ข้อมูลทั่วไป

สาขาคาซี-ปากานิก (Khasi-Pakanic) สาขาย่อยปะหล่อง (Palaungic)

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคเหนือ

ภูมิภาค

เชียงใหม่

จังหวัดที่พบ

2,000 คน

จำนวนประชากร

ดาราอาง ดาระอั้ง ดาระอาง ดาละอั้ง ว้าปะหล่อง

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page