พวน
Phuan
ไท-กะได (Tai-Kadai)
ตระกูลภาษา
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ
ไทยพวน มีถิ่นฐานดั้งเดิมในเมืองพวน แคว้นเชียงขวาง ประเทศลาว ในศึกเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ 2369-2380) มีการอพยพชาวพวนเข้ามาในประเทศไทย โดยชาวพวนถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยสงคราม จากข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์การอพยพ แบ่งการอพยพของชาวพวนออกเป็น 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่หนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2322 เมืองพวนตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงธนบุรี แต่ยังไม่มีการกวาดต้อนชาวพวนเข้ามา และครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2369-2380 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ในพ.ศ. 2369 ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการกวาดต้อนชาวลาวพวนและชาวลาวเวียงจำนวนมากเข้ามาในประเทศไทย และปัจจุบันชาวไทยพวนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่นแถบบริเวณภาคตะวันออกครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ 1) จังหวัดนครนายก ในอำเภอปากพลี และอำเภอเมือง 2) จังหวัดฉะเชิงเทรา ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว และ 3) จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม
ข้อมูลทั่วไป
สาขาไท (Tai branch) สาขาย่อยไทตะวันตกเฉียงใต้ (Southwestern sub-branch)
กลุ่มภาษาย่อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออก, ภาคตะวันตก
ภูมิภาค
กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, ชัยนาท, นครปฐม, นครสวรรค์, สุโขทัย, น่าน, อุทัยธานี, พิจิตร, เพชรบูรณ์, ลพบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, สระบุรี, นครนายก, ปราจีนบุรี, อุดรธานี, เลย, พิษณุโลก, เพชรบุรี, แพร่, ยโสธร, หนองคาย, อุบลราชธานี
จังหวัดที่พบ
200,000 คน
จำนวนประชากร
ลาวพวน ไทยพวน
ชื่อเรียกอื่นๆ