top of page

ละว้า

Lawa

ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)

ตระกูลภาษา

การศึกษาข้อมูลไมโครแซเทลไลท์บนออโทโซม จำนวน 15 ตำแหน่ง ในกลุ่มประชากรที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติกในภาคเหนือของประเทศไทย คือ มอญ ขมุ ลั้วะ ละว้า ปะหล่อง ถิ่นมัล และ ถิ่นปรัย โดย Kampuansai et al. (2017) ทำให้สามารถแบ่งโครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรละว้าได้เป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่มีโครงสร้างทางพันธุกรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีการรักษาข้อมูลดีเอ็นเอของกลุ่มไว้ และแตกต่างจากประชากรอื่น โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ไทในภาคเหนือ ซึ่งอาจเกิดจากผลกระทบของอิทธิพลผู้ตั้งรกรากตั้งแต่อดีต ในขณะที่ละว้าอีกกลุ่มมีรูปแบบโครงสร้างทางพันธุกรรมที่ใกล้ชิดกับกลุ่มชาติพันธุ์ไท เนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างละว้ากับชาวไทในช่วงสมัยอาณาจักรล้านนามาอย่างยาวนาน จึงก่อให้เกิดผสมผสานทางพันธุกรรม เช่นเดียวกับการวิเคราะห์โครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรด้วยไมโครแซเทลไลท์บนออโทโซมในงานของ Mawan et al. (2021) ที่พบว่าละว้าสองกลุ่ม (ละว้าตะวันตก และละว้าตะวันออก) มีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งละว้าตะวันออกมีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับประชากรที่พูดภาษาไท-กะไดมากกว่าละว้าตะวันตก นอกจากนี้ การวิเคราะห์ดีเอ็นด้วย Genome-Wide data พบความสัมพันธ์ของชาวละว้ากับชาวกะเหรี่ยง และประชากรที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยขมุและกะตู อีกทั้งยังพบว่า ละว้าได้รับข้อมูลดีเอ็นการผสมผสานทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษกลุ่มที่พูดภาษาจีนทิเบต (Kutanan et al., 2021) ซึ่งความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของละว้าและกะเหรี่ยงสอดคล้องกับการแบ่งปันดีเอ็นเอบนโครโมโซมวาย (Kutanan et al., 2020) และผลการวิเคราะห์ต้นไม้วิวัฒนาการ (neighbor-joining tree) ด้วยไมโครแซเทลไลท์บนออโทโซม (Mawan et al., 2021) โดยอาจเกิดจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้ชิดกันตามแนวชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยและพม่า ส่งผลให้ชาวละว้าและกะเหรี่ยงมีการติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยล้านนาและเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางพันธุกรรม สำหรับการวิเคราะห์เชื้อสายดีเอ็นเอบนไมโทคอนเดรียตลอดทั้งจีโนม ยังระบุว่าชาวละว้ามีความถี่ของแฮโปลกรุ๊ปที่เฉพาะเจาะจง เช่น แฮโปลกรุ๊ป D4 ร้อยละ 22.73 ซึ่งบ่งชี้ถึงผลกระทบที่เด่นชัดของเจเนติกดริฟต์ (Kutanan et al., 2017)

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

“ละว้า” เป็นชื่อที่นักวิชาการตั้งให้กลุ่มคนที่อาศัยอยู่แถบบริเวณพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในขณะที่คนไทยเรียกว่า “ลัวะ” และละว้าเรียกตนเองว่า “ลือเวือะ” ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยมาอย่างยาวนานมากกว่า 1,300 ปี นักวิชาการเชื่อว่าชาวลัวะสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนดั้งเดิมเมืองลวรัฐ หรือ ลัวะปุระ จากแหลมอินโดจีนตอนกลาง ตามประวัติศาสตร์พบว่ามีการอพยพของละว้าเข้ามาตอนเหนือของประเทศไทย เนื่องจากราวพุทธศตวรรษที่ 6ขอมเรืองอำนาจและเกิดการรุกรานลวรัฐ ทำให้เกิดการอพยพขึ้นมาตามแนวแม่น้ำปิงไปจนถึงริมฝั่งแม่น้ำคงในรัฐฉานของประเทศพม่า ทำให้ในปัจจุบันมีชาวละว้าอาศัยอยู่ในภาคเหนือของไทย ตอนเหนือของพม่า และทางตอนใต้ของประเทศจีน (ณัฏฐวี และสุรียา, 2539; บุญช่วย ศรีสวัสดิ์, 2545; พิพัฒน์ กระแจะจันทร์, 2560) หลังจากนั้น เมื่อครั้นชาวมอญมีการก่อตั้งอาณาจักรหริภุญไชยขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 -14 ชาวละว้าได้พ่ายแพ้แก่การทำสงครามกับพระนางจามเทวี ผู้เป็นปฐมบรมกษัตริย์แคว้นหริภุญไชย พื้นที่ของชาวลัวะที่เคยอาศัยอยู่มาก่อนจึงถูกตีแตกไป ทำให้ชาวลัวะมีทั้งหลบหนีการถูกกวาดต้อนไปอยู่ตามป่าตามภูเขา และบางส่วนยังคงอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำปิง จนกระทั่งถึงสมัยอาณาจักรล้านนา พบหลักฐานว่ามีความสัมพันธ์อันดีกับชนชาติไทตั้งแต่การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา รวมทั้งล้านนายังได้รับอิทธิพล ความเชื่อในด้านวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ จากชาวละว้าอีกด้วย (กฤษณา เจริญวงศ์, 2532; บือ ขจรศักดิ์ศรี, 2552) นอกจากนี้ ด้วยการอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกัน ภาษาของ ลัวะ หรือ ละว้า แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มวาวู หรือ ละว้าตะวันออก พบในบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ และ กลุ่มอังกา หรือ ละว้าตะวันตก พบในเขตภูเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดเชียงใหม่กับแม่ฮ่องสอน (ประเสริฐ ชัยพิกุสิต, 2542)

ข้อมูลทั่วไป

สาขาคาซี-ปากานิก (Khasi-Pakanic) สาขาย่อยปะหล่อง (Palaungic)

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคเหนือ

ภูมิภาค

เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน

จังหวัดที่พบ

5,000 คน

จำนวนประชากร

ลัวะ เลอเวือะ ละเวือะ

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page