top of page

เขมรถิ่นไทย

Northern Khmer

ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)

ตระกูลภาษา

จากการศึกษาประชากรที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติกที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นราบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอบนออโทโซม ระบุว่าชาวเขมรมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับชาวอีสาน เนื่องจากมีการผสมผสานทางพันธุกรรมกันมากถึงร้อยละ 31 (Chantakot et al., 2017) สอดคล้องกับการศึกษาความผันแปรของดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียบริเวณที่มีความหลากหลายสูง (HVR-1) (Kutanan et al., 2014) ผลจากการวิเคราะห์แสดงถึงการผสมผสานทางพันธุกรรมระหว่างชาวเขมรและไทอีสานจากจังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี ขอนแก่น และนครราชสีมา ซึ่งได้รับสัดส่วนทางพันธุกรรมจากชาวเขมรในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะประชากรจากจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานทางภาษา ประวัติศาสตร์ และแหล่งโบราณคดีที่มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนานในอดีตระหว่างสองประชากร

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

ชาวเขมรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ โดยเรียกอีกชื่อว่า เขมรเหนือ (Northern Khmer) หมายถึง ชาวเขมรที่มีการอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศกัมพูชาหรือบริเวณประเทศไทยปัจจุบัน (สุริยา รัตนกุล, 2531) หรือ เขมรถิ่นไทย เนื่องจากเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยในพื้นที่อีสานตอนใต้มาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ชาวเขมรในไทยยังเรียกตนเองว่า "ขแมร์-ลือ" ที่ความหมายถึง ชาวเขมรที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นการสร้างความแตกต่างจากชาวเขมรอาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชาที่เรียกว่า "ขแมร์-กรอม" หมายถึง เขมรต่ำ ตามบันทึกทางโบราณคดีคาดว่าชาวเขมรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวเขมรโบราณตั้งแต่อาณาจักรเจนละ (Chenla) ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 และอาณาจักรอังกอร์ (Angkor) ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 สอดคล้องกับหลักฐานทางอารยธรรมขอมตามวัดและเจดีย์ต่าง ๆ ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรอังกอร์ ชาวเขมรจึงอยู่ภายใต้การปกครองของประชากรลาวที่เข้ามายืดครองพื้นที่และถูกหลอมรวมกันจนเป็นประชากรไทยในลำดับถัดมา (Vallibhotama, 1989; Schliesinger, 2001) นอกจากนี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2324 - 2325 ไทยได้มีการยกทัพไปตีเขมรหลายครั้งและเจ้าเมืองสุรินทร์ได้ยกทัพไปสมทบ ทำให้เกิดการอพยพของชาวเขมรเข้ามาในจังหวัดสุรินทร์และพื้นที่ข้างเคียงจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน (ประกอบ ผลงาม, 2538)

ข้อมูลทั่วไป

สาขามอญ-เขมร (Mon-Khmer) สาขาย่อยคะแมร์ (Khmeric)

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออก

ภูมิภาค

สุรินทร์, ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์, นครราชสีมา, อุบลราชธานี, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา

จังหวัดที่พบ

1,400,000 คน

จำนวนประชากร

ขแมร์ลือ เขมรสูง ไทย-เขมร เขมรถิ่นไทย คนไทยเชื้อสายเขมร เขมรสูง เขมรเหนือ เขมรป่าดง

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page