เวียต
Viet
ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)
ตระกูลภาษา
ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรซำเรในประเทศไทย
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ
เวียต หรือเป็นที่ทราบกันว่าชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม คือ ชาวเวียดนามที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่ไทย ทำให้มีชื่อเรียกว่า “เหวียต เกี่ยว”เป็นภาษาเวียดนาม หมายถึง ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่นอกประเทศหรือชาวเวียดนามโพ้นทะเล ในขณะที่คนไทยเรียกว่า “ญวณ” และคนไทยบริเวณภาคอีสานจะเรียกว่า “แกว”ซึ่งอ้างถึงเสียงพูดของชาวเวียตที่มีเสียงดังและเสียงสูงต่ำตัดกันชัดเจน สำหรับคนเวียดนามที่ได้รับสัญชาติไทยจะใช้ชื่อใหม่ว่า “คนไทยเชื้อสายเวียดนาม” แต่เดิมชาวเวียตหรือชาวเวียดนามอาศัยอยู่บริเวณภาคใต้ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงของจีน ด้วยการกระจายตัวของชาวเวียตในหลากหลายจังหวัดของประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นจากตั้งแต่อดีตมีการอพยพเข้ามาหลายเหตุการณ์ด้วยกัน ตั้งแต่ช่วงสมัยอยุธยาจากการลี้ภัยทางการเมืองและศาสนา ช่วงสมัยธนบุรีจากหนีภัยทางการเมืองและการสู้รบแย่งชิงอำนาจ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเวียดนามได้มีการหนีการกวาดล้างของฝรั่งเศสเข้ามาไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งเป็นทหารที่ช่วยทำสงครามและบุคคลผู้หนีสงคราม และการอพยพเข้ามาครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2518 ที่มีการรวมประเทศระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายเวียดนามนี้มีการรวมกลุ่มก่อตั้งสมาคมที่มีความแน่นแฟ้นกันสูงในทุกจังหวัด รวมทั้งมีการสร้างอัตลักษณ์ที่แสดงถึงการมีอยู่ของชาวเวียตด้วยการสร้างสถานที่สำคัญต่าง ๆ สะท้อนถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในประเทศไทย (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2564)
ข้อมูลทั่วไป
สาขามอญ-เขมร (Mon-Khmer) สาขาย่อยเหวียด-เหมื่อง หรือ เวียตติก (Vietic)
กลุ่มภาษาย่อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออก
ภูมิภาค
นครพนม, สกลนคร, มุกดาหาร, หนองคาย, อุบลราชธานี, เลย, อุดรธานี, จันทบุรี, สระแก้ว, กรุงเทพมหานคร
จังหวัดที่พบ
20,000 คน
จำนวนประชากร
เหวียต เกี่ยว ญวณ แกว ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม
ชื่อเรียกอื่นๆ