top of page

แสก

Saek

ไท-กะได (Tai-Kadai)

ตระกูลภาษา

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

แสก หรือ ไทแสก จากข้อมูลศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรกล่าวว่า ชาวแสกในปัจจุบันมีถิ่นฐานกระจายออกเป็นสี่กลุ่มหลัก ได้แก่ แสกที่อยู่ในเขตประเทศเวียดนาม แสกที่อพยพเข้าไปในประเทศจีน (เขตจ้วงเหนือ-ใต้ในมณฑลกวางซีหรือกวางสี) แสกที่อยู่ในประเทศลาว (แถบหัวพันและบอลิคำไซ) และกลุ่มชาวแสกที่อพยพเข้ามาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดนครพนม (ชลธี คำเกษ, 2553) โดยคาดว่าถิ่นฐานเดิมของชาวแสกอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศเวียดนาม เนื่องจากลักษณะของภาษาแสกที่มีลักษณะคล้ายกัน กลุ่มชาติพันธุ์แสกที่อพยพมาจากเมืองแสกหรือเมืองฮาวิรอง และบางส่วนยังอยู่กระจัดกระจายแถบเมืองวิงห์ และเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ก่อนจะย้ายมาที่เมืองทอก บ้านท่าแค (ปัจจุบันคือบ้านโพธิ์ค้ำ เมืองท่าแขก แขวงคําม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ในประเทศไทยชาวแสกอาศัยอยู่กระจัดกระจายหนาแน่นในพื้นที่จังหวัดนครพนมโดยเฉพาะที่บ้านไผ่ล้อม และบ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม อาจกล่าวได้ว่าเป็นชุมชนแสกขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศไทย การอพยพและการย้ายถิ่นฐานของชาวแสก เกิดขึ้นจากต้องการหาที่ตั้งที่มีความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งจากการถูกรุกรานโดยคนเวียดนามหรือญวณที่ต้องการเข้าไปปกครองชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบ จากนั้นชาวแสกจึงอพยพมายังฝั่งขวาของแม่น้ำโขง คือ จังหวัดนครพนมและตั้งถิ่นฐานอยู่โดยรอบบริเวณนี้

ข้อมูลทั่วไป

สาขาไท (Tai branch) สาขาย่อยไทเหนือ (Northern sub-branch)

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิภาค

นครพนม

จังหวัดที่พบ

3,500 คน

จำนวนประชากร

ไตแสก

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page