โซ่ (ทะวืง)
Thavung
ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)
ตระกูลภาษา
ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรโซ่ ทะวืง ในประเทศไทย
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ
โซ่ ทะวืง เป็นอีกกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโซ่ (โส้) แต่มีภาษาพูดในสาขาที่แตกต่างกัน และมีการแยกตัวออกมาตั้งชนชาติของตนเองมาเป็นเวลายาวนาน พร้อมทั้งปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่ที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวโซ่ทะวืงมากกว่า สำหรับคำว่า “ทะวืง” หมายถึง ยุง สืบเนื่องมาจากเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการปรับตัวอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าเขาและทนต่อการกัดต่อยของแมลงมีพิษได้หลายชนิด จึงได้ชื่อว่าทนต่อยุงกัด นอกจากนี้ “ทะวืง”ยังมีความหมายว่า เขตแดนหรือที่อยู่อาศัย ที่สื่อถึงการเคลื่อนย้ายอพยพจากหมู่บ้านทะวืงในแขวงคำเกิดคำม่วนหลายครั้ง โดยการอพยพเข้ามาในไทยครั้งแรกคือ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม แล้วจึงย้ายมาที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ด้วยลักษณะที่ไม่เหมาะสม จนได้ย้ายมาลงหลักปักฐานในพื้นที่ปัจจุบัน คือ อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ซึ่งเหตุการณ์การอพยพเกิดขึ้นในตั้งแต่ช่วงสมัยของรัชกาลที่ 3 เนื่องจากเกิดความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่างคนที่สนับสนุนหรือเห็นด้วยกับอุดมการณ์ของเจ้าอนุวงศ์และคนที่ต้องการแยกตัวออกมา และมีการกวาดต้อนผู้คนจากประเทศลาวเข้ามาประเทศไทย พร้อมกันกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น โส้ ชาวลาว ชาวผู้ไท และชาวญ้อ (Schliesinger, 2000)
ข้อมูลทั่วไป
สาขามอญ-เขมร (Mon-Khmer) สาขาย่อยเหวียด-เหมื่อง หรือ เวียตติก (Vietic)
กลุ่มภาษาย่อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภูมิภาค
สกลนคร
จังหวัดที่พบ
1,500 คน
จำนวนประชากร
โซ่ ข่า
ชื่อเรียกอื่นๆ