top of page

โส้

So

ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)

ตระกูลภาษา

ที่ผ่านมา Kutanan et al (2021) ได้มีการศึกษาประชากรชาวโซ่ด้วยการวิเคราะห์ Genome-Wide data ที่ระบุการจัดกลุ่มความสัมพันธ์ของชาวโซ่กับประชากรมลาบรี ถิ่น ขมุ และบรู ซึ่งเป็นกลุ่มที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยกะตู และสาขาย่อยขมุ โดยอาจเกิดจากการไหลของยีนระหว่างประชากร ซึ่งสืบเนื่องมาตั้งแต่การอพยพของประชากรที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติกโบราณจากจีนตอนใต้เข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตั้งถิ่นฐานตามแนวแม่น้ำโขง การโยกย้ายถิ่นฐานในบริเวณแม่น้ำโขงจึงส่งผลให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลพันธุกรรมของประชากรกลุ่มที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติกสาขาย่อยกะตู และสาขาย่อยขมุ หรือเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการอพยพจากประเทศลาวและกระจายกันตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ช่วง 100-200 ปีก่อน นอกจากนี้ ยังพบความใกล้ชิดทางพันธุกรรมระหว่างชาวโซ่กับประชากรที่พูดภาษาไท-กะได ที่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ติดต่อกับประเทศลาว รวมทั้งการอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันของประชากรโซ่และไทยอีสาน

การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพันธุศาสตร์กับประชากรอื่นๆ

ชาวโซ่ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอื่นคือ “กะโซ่” หรือ “ข่ากะโซ่”ซึ่งอ้างถึง ข่าที่เป็นกลุ่มมอญ-เขมร โดยแต่เดิมชาวโซ่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองมหาชัย แขวงคำม่วน และแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว เมื่อเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์ในเวียงจันทน์ ทำให้มีการอพยพถูกกวาดต้อนให้ย้ายถิ่นฐานมายังประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อเป็นการตัดกำลังของฝ่ายเวียงจันทน์และฝ่ายญวน โดยกระจายตัวในพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ชาวโซ่จึงถูกเรียกรวมกันว่าเป็นพวกข่าซึ่งตามลักษณะของการจัดการกลุ่มตามชาติพันธุ์ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับ ชาวกะเลิง และชาวกะเลิงเองก็ถูกเรียกว่า “ข่าเลิง” ดังนั้น คำว่า “ข่า” จึงมักเป็นคำที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากบริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและเป็นการเรียกตามลักษณะของการจัดตามกลุ่มชาติพันธุ์ ในปัจจุบันชาวโซ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกับชาวไทยอีสานอื่น ๆ เช่น ย้อ แสก กะเลิง และภูไท ส่งผลให้วัฒนธรรมประเพณี รวมถึงภาษาของชาวโซ่มีความใกล้เคียงกับชาวไทยอีสานมากขึ้น (สุริยา รัตนกุล, 2531; ยงยุทธ บุราสิทธิ์, 2551)

ข้อมูลทั่วไป

สาขามอญ-เขมร (Mon-Khmer) สาขาย่อยกะตู (Katuic)

กลุ่มภาษาย่อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิภาค

สกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร

จังหวัดที่พบ

70,000 คน

จำนวนประชากร

โซ่ โซร ซี ข่า กะโซ่ ข่าโซ่ ข่าพร้าว

ชื่อเรียกอื่นๆ

bottom of page