top of page

การวิเคราะห์โครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรชาวไทยอีสาน จังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยไมโครแซเทลไลท์บนออโตโซม

กนกพร ศรีทองแดง ศุภรัตน์ ศรีทะวงษ์ และ วิภู กุตะนันท์


บทคัดย่อ

ชาวไทยอีสานเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่ที่สุด อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวไทยอีสานอพยพมาจากประเทศลาวในระหว่างศตวรรษที่ 14 ถึง 18  งานวิจัยที่ผ่านมาได้มีการศึกษาพันธุกรรมของชาวไทยอีสาน แต่อาศัยเพียงดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียเป็นเครื่องหมายทางพันธุกรรม  งานวิจัยนี้จึงต้องการขยายการศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมของชาวไทยอีสาน จำนวน 53 คน จากจังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยไมโครแซเทลไลท์บนออโทโซมจำนวน 15 ตำแหน่ง คือ D8S1179 D21S11 D7S820 CSF1PO D3S1358 THO1 D13S317 D16S539 vWA TPOX D18S51 D5S818 FGA D19S433 และ D2S1338  ผลการศึกษาพบว่าประชากรที่ศึกษามีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง (จำนวนอัลลีลทั้งหมด 122 อัลลีล และ ความหลากหลายของยีน = 0.7094±0.4406) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประชากร โดยนำประชากรอื่นที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมาเปรียบเทียบ พบว่าชาวไทยอีสาน จังหวัดบุรีรัมย์ มีความใกล้ชิดทางเชื้อสายกับชาวไทยอีสาน จังหวัดร้อยเอ็ด และชาวไทยอีสานทั้งสองประชากรแสดงลักษณะทางพันธุกรรมของประชากรลูกผสม เนื่องจากมีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางระหว่างประชากรอื่นในแผนภูมิต้นไม้แสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการและแผนภูมิ multidimensional scaling เมื่อคำนวณสัดส่วนการผสมผสานทางพันธุกรรมของประชากรพบว่า ชาวไทยอีสาน จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับสัดส่วนทางพันธุกรรมจากประชากรพ่อแม่ที่พูดภาษาตระกูลกระได (กะเลิง และญ้อ) ร้อยละ 65 มากกว่าประชากรที่พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติค (ชาวบน เขมร และส่วย) ร้อยละ 35



อ่านบทความเพิ่มเติม

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page