พิชชาภา บุญโสดา ศุภรัตน์ ศรีทะวงษ์ สุปราณี ศรีกู่กา และ วิภู กุตะนันท์
บทคัดย่อ
ชาวเขมรเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาของชาวเขมรถูกจัดอยู่ในตระกูลภาษากลุ่มย่อยมอญ-เขมร เช่นเดียวกับประชากรดั้งเดิม มอญ-เขมรกลุ่มอื่น ในประเทศไทย เช่น ชาวละว้า ชาวพล่าง ชาวขมุ และ ชาวถิ่น จนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานโครงสร้างทางพันธุกรรม ของชาวเขมรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงวิเคราะห์ความผันแปรของดีเอ็นเอไมโทคอนเดรีย บริเวณ HVR- Iของชาวเขมรจังหวัดสุรินทร์เพื่อศึกษาความหลากหลายและโครงสร้างทางพันธุกรรม รวมถึง ความสัมพันธ์ทางเชื้อสายระหว่างประชากรชาวเขมร กับประชากรอื่นที่ใช้เปรียบเทียบจำนวน 31 ประชากร (14ประชากรที่พูดภาษามอญ-เขมร และ 17 ประชากรที่พูดภาษาไท-กระได) ผลการศึกษาพบความหลากหลายของแฮโพลไทป์ (0.9444 ± 0.0278) และความหลากหลายนิวคลีโอไทด์ (0.0127 ± 0.0068) ของชาวเขมรมีค่าสูง ผลระยะห่างทางพันธุกรรมระบุว่า ชาวเขมรมีความสัม พันธ์ทางเชื้อสายใกล้ชิดกับชาวถิ่นกลุ่มย่อยปรัยมากที่สุด ผลของแผนภูมิ MDS แสดงถึงความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรที่พูดภาษามอญ-เขมรด้วยกัน และระหว่างประชากรที่พูดภาษามอญ- เขมร กับประชากรที่พูดภาษาไท-กระได ผลการวิเคราะห์ AMOVA และแผนภูมิต้นไม้แบบ NJ แสดงถึงอิทธพลของภาษาพูดที่มีต่อโครงสร้างทางพันธุกรรมของประชากรที่พูดภาษามอญ-เขมร ซึ่งอาจเกิดจากการมีบรรพบุรุษร่วมกันในอดีต
อ่านบทความฉบับเต็ม
Opmerkingen